ความเห็นย้อนแย้งในเรื่องผ้ายันต์กระดาษแบบมีตราประทับฯ และไม่มีตราประทับฯ
การเห็นต่างทางความคิดนั้นเป็นเรื่องปกติ โดยเฉพาะประเด็นความสับสนระหว่างผ้ายันต์กระดาษที่มีตราประทับฯ และที่ไม่มีตราประทับฯ อ้างอิงมาจากเรื่องที่มีคนมากราบเรียนสอบถามว่า “เห็นมีคนเล่ากันและบอกต่อกันว่าทางศาลเจ้าฯ มีแต่ผ้ายันต์กระดาษ (ที่มีตราประทับขององค์อากงท่านเทพเจ้ากวนอู) เพียงอย่างเดียว (โดยได้รับทราบมาจากแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้)”
และมีความเห็นย้อนแย้งของทางท่านแหล่งข่าวที่เคยได้รับผ้ายันต์กระดาษที่ไม่มีตราประทับฯ มาจากทางศาลเจ้าฯ เช่นกัน โดยใช้ข้อมูลอ้างอิงของแหล่งข่าวที่เล่ากันต่อว่าทางศาลเจ้าฯ สร้างเฉพาะผ้ายันต์กระดาษที่มีตราประทับฯ เพียงอย่างเดียว นอกนั้นไม่ใช่ของทางศาลเจ้าฯ
“อ้าวแล้วผ้ายันต์กระดาษที่ไม่มีตราประทับฯ ก็ถือว่าไม่ใช่ของศาลเจ้าฯ สร้างด้วยหรือ จริงหรือ ก็ตัวเองรับ และขอรับมาจากทางศาลเจ้าฯ เช่นกัน ดังนั้น ถ้ามีการยืนยันว่าผ้ายันต์กระดาษที่มีตราประทับฯ เป็นของทางศาลเจ้าฯ สร้างอย่างเดียวแล้ว ผ้ายันต์กระดาษที่ไม่มีตราประทับฯ ก็ไม่ใช่ของทางศาลเจ้าฯ สร้างสิ” แหล่งข่าวที่เคยได้รับผ้ายันต์กระดาษที่ไม่มีตราประทับฯ รู้สึกมึนงง และตั้งข้อสังเกตพร้อมกับอยากทราบความคิดเห็นของเราด้วยเช่นกัน
มาถึงตรงนี้ “เราเองกราบเรียนตามตรงว่า ไม่กล้าตอบ หรือแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้แต่อย่างใด จึงอยากกราบขอให้ท่านลองกราบเรียนปรึกษาท่านผู้รู้ และแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ที่พอจะทราบและสามารถให้ข้อมูลในเรื่องเหล่านี้ได้ดีที่สุด”
“การอ้างอิงข้อมูลจากแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ และบอกต่อกันว่าศาลเจ้าฯ สร้างแต่ผ้ายันต์กระดาษที่มีตราประทับฯ เพียงอย่างเดียวนั้นเริ่มมีคนพูดและกล่าวถึงกันในวงกว้าง จนลูกศิษย์ฯ ที่เคยได้รับผ้ายันต์ฯ ในแบบต่างๆ ในยุคก่อนหน้าต่างสับสน และมึนงงกับข้อมูลดังกล่าวนี้”
สำหรับเราแล้ว สิ่งที่เราทำได้ดีที่สุดคือเป็นคนให้ข้อมูลในส่วนของเรา และกราบขอให้ท่านกัลยาณมิตรเป็นคนตัดสินใจอีกทีหนึ่งครับผม โดยเฉพาะข้อมูลของเรา ในเรื่องการจัดสร้าง “ผ้ายันต์อากงท่านเทพเจ้ากวนอู และท่านเทพเจ้าไฉซิ้งเอี้ย” และ “ผ้ายันต์ลุยไฟโค้วโต่วฮู้” ขององค์อากงท่านเทพเจ้ากวนอู ศาลเจ้าพ่อกวนอู บริเวณชุมชนชาวตลาดสมเด็จเจ้าพระยา คลองสาน ในแบบย้อนยุค เพียงอย่างเดียว
วัตถุประสงค์หลักของเรา คือ เราอยากสืบสานตำนานผ้ายันต์ฯ ยุคดั้งเดิม หรือยุคต้นในยุคของอาเหล่าแปะ หรือ “จับเกี๊ยมแปะ” ซึ่งท่านมีองค์ประทับของอากงท่านเทพเจ้ากวนอู และเคยมีการประทับทรงองค์อากงท่านเทพเจ้ากวนอู ภายในศาลเจ้าพ่อกวนอู บริเวณชุมชนชาวตลาดสมเด็จเจ้าพระยา คลองสาน ในช่วงหลายสิบปีก่อนที่โด่งดังมากๆ ในอดีตอีกครั้งหนึ่ง
ในมุมคล้อยตาม ย่อมมีมุมที่มีการคิดเห็นแตกต่าง “มีคนมาถามเราเช่นกันว่า ตกลงผ้ายันต์ฯ ยุคต้นนั้นมีจริงหรือ และเป็นของทางศาลเจ้าฯ ด้วยหรือไม่”
สิ่งที่ผมทำได้ และอยากบอกอย่างนี้ว่า “ถ้าท่านเชื่อและมั่นใจเรา ท่านก็จะเชื่อในสิ่งที่เราพูด และได้จัดสร้างผ้ายันต์ฯ ในแบบย้อนยุค แต่ถ้าท่านไม่เชื่อเรา ต่อให้เราอธิบายอย่างใด ท่านก็ไม่เชื่อเราอยู่ดี เราจึงกราบขอเป็นคนให้ข้อมูลในส่วนของเรา และกราบขอให้ท่านกัลยาณมิตรเป็นคนตัดสินใจอีกครั้งหนึ่งครับผม”
ทิ้งท้าย สิ่งที่ผมอยากจะกราบเรียนในมุมมองของเรา คือ ผ้ายันต์ฯ หรือฮู้ในยุคของอาเหล่าแปะนั้นเป็นของหายากในยุคนี้ มีหลากหลายแบบ และที่สำคัญ ขณะนี้ได้ตกทอดจากรุ่นสู่รุ่นเป็นส่วนใหญ่ โดยลูกหลานของท่านลูกศิษย์ฯ ต่างหวงแหนเป็นที่สุด
กราบสาธุ สาธุ สาธุ ด้วยนะครับผม