อยากปลุก และกระตุ้นให้คนที่เคยถูกเซียนพระหลอกขายพระปลอม (เหมือนผม) รวมตัวกันเดินหน้า - ฟ้อง และเอาผิดกับเซียนพระบางท่านที่เคยเอาเปรียบเรา หรือทำนาบนหลังเรา!
“เราเป็นคนที่ถูกคนเอาเปรียบ หรือถูกทำนาบนหลังเราน้าจร้า”
* เราแม้ว่าจะอายุมากกว่าเซียนพระบางท่านที่เราไปดีลด้วย แต่เราจะให้เกียรติ และยกย่องเซียนแต่ละท่านว่า เป็นคนมีความรู้ ความสามารถ และสันนิษฐานว่า ขายพระแท้ให้เรา จนวันที่เราได้รู้ความจริงว่า พระที่เราเคยเช่า หรือเช่าหามานั้นเป็นพระปลอม เราจะสัมผัสได้ถึงพลังงานบางอย่างที่มันเป็นคนละเรื่องกับที่เราเคยคาดหวัง และเคยคาดคะเนเลยทีเดียว
หลังจากที่ช่วงหลังๆ ผมได้มีโอกาส ได้ร่วมพูดคุยกับแหล่งข่าวที่สนิทหลายท่าน เกี่ยวกับเรื่องพระเครื่องที่ผมเคยเช่า และได้ของปลอม แถมเวลาเอาไปคืนยังถูกหักเปอร์เซ็นต์ เพราะเซียนที่ผมไปเช่ายืนกรานว่า ขายของแท้ รวมถึงมีเซียนพระบางรายไม่รับเช่าคืน นับว่าเป็นการขายของที่ไม่ได้มาตรฐาน และถ้าจะพูดไปแล้ว ก็ย่ำแย่ไม่แพ้วงการขายทองคำปลอม หรือวงการที่เอาเปรียบลูกค้าเลยนะครับ
บางครั้งเราในฐานะลูกค้าก็รู้สึกได้เหมือนกับว่า “เราเป็นคนที่ถูกคนเอาเปรียบ หรือถูกทำนาบนหลังเราน้าจร้า”
มีแหล่งข่าวหลายๆ ท่านที่ผมรู้จักก็เจอเหตุการณ์แบบนี้เช่นกัน บางท่านเช่าพระเครื่องเพื่อเก็บไว้ให้ลูกหลาน องค์ละหลายๆ หมื่นเลยทีเดียว และในช่วงวิกฤตจึงมีความจำเป็น และต้องตัดใจขาย แต่ปรากฎว่า พอจะเอาไปขาย กลายเป็นพระปลอม พระไม่แท้ ไม่มีเซียนรับซื้อ นับว่า เป็นความเสียหายอย่างแสนสาหัสเหมือนกันนะครับ
“เงินไม่ใช่น้อยๆ เลยน้าจร้า”
ทั่วๆ ไป วงการพระเครื่อง เวลามีการขายคืน เค้าอาจจะใช้หลักสากล คือ หัก 20-25 เปอร์เซ็นต์ หรือมากกว่า หรือน้อยกว่า หรือไม่หัก อันนี้แล้วแต่ข้อตกลง
แต่ถ้าเทียบกับวงการอื่นๆ อาทิเช่น ทองคำซึ่งขึ้นอยู่ที่ราคาในแต่ละวันที่ทางสมาคมฯ ประกาศ หรือเพชร ส่วนใหญ่ร้านค้าจะหักคืนประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ เป็นร้านที่มีใบรับประกันฯ
ส่วนใหญ่พระเครื่อง ถ้าขายคืน จะถูกหักประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ :
แตกต่างจากวงการพระเครื่องที่ผมเคยเจอ เพราะเท่าที่ผมเคยเจออย่างน้อยๆ ก็หักผม 20 เปอร์เซ็นต์ หรือบ้างก็ 25 เปอร์เซ็นต์ (เวลาขายคืน หรือแล้วแต่สถานการณ์ในตอนนั้นๆ) มีบางรายไม่ยอมรับเช่าคืนก็มีครับ อีกทั้งยังฝากด่าบุพการีของผมอีกต่างหาก อิอิ
คือ เมื่อเราตัดสินใจเช่าพระเครื่องแล้ว เราต้องถูกหักเปอร์เซ็นต์ หรือตีเป็นค่าเสื่อมไปเลย 20-25 เปอร์เซ็นต์ และอาจจะมากกว่า ในวันที่เราต้องการจะขายคืนก็ได้
แต่ที่ย่ำแย่หน่อย คือ “มีเซียนพระบางท่านที่ผมเคยเจอ และที่แย่หน่อย คือ เค้ากับขายพระปลอมให้กับเรา พอเราเอาไปคืน ยังมาหักเราอีก ก็มีตั้งแต่ 25-60 เปอร์เซ็นต์ เพราะยืนกรานขายของแท้ บ้างก็มีไม่รับคืน (ในกรณีขายของปลอมก็มี)”
เฮ้อ!
อยากให้มีหน่วยงานภาครัฐฯ ที่มีการจัดตั้งขึ้นมา อาทิเช่น กระทรวง ทบวง หรือกรมฯ ที่เข้ามาดูแลฯ ขึ้นทะเบียนผู้ขาย กำหนดมาตรฐานการขาย และกรอบราคา เช่น พระใหม่ เก่า พระแท้ พระปลอม พระทำเลียนแบบ พระย้อนยุค กำหนดให้ชัดเจน
และถ้าจะให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป คือ ให้มีการรองรับ และตั้งศูนย์กลางรับเช่าหา หรือให้เช่า มีราคากลางในการรับซื้อ หรือขายด้วยนะครับ เพื่อช่วยสร้างรายได้ และช่วยพยุงสถานการณ์ในยุคต่างๆ ที่ประชาชนมีความจำเป็นต้องใช้เงินด้วยนะครับผม
ทุกวันนี้ กระแสการตรวจสอบผู้ค้าที่ไม่จริงใจในช่วงนี้เริ่มมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในแต่ละวัน การออกมารวมตัวกันของผู้เดือดร้อน นับว่าเป็นช่วงจังหวะที่ดี และจะได้ถือโอกาสตรวจสอบ และช่วยเหลือเหยื่อ หรือผู้ที่เดือดร้อนอย่างเราที่หาคนช่วยได้ยากจริงๆ ในสถานการณ์ปกตินะจร้า
อยากจะขอเน้นย้ำ และขีดเส้นใต้ตรงนี้น้าจร้า อิอิ :
และที่น่าตกใจ และขอตั้งข้อสังเกตุ คือจากประสบการณ์ที่เราเคยเจอ คือ เราเช่าหากับเซียนพระ และเราได้รับพระปลอม แทนที่เราจะต้องเป็นคนโกรธเซียนที่ขายพระปลอมให้เรา
ในบางกรณี เรากลับถูกเซียนท่านต่างๆ เหล่านั้นโกรธที่ว่า เราไปสวดว่าพวกเค้าขายพระปลอมให้กับเรา โดยเค้ายืนยันว่า เค้าขายพระแท้ให้กับเรา มันจึงเป็นขอถกเถียงที่เราผู้เดือนร้อน เสียทั้งเงิน ได้ทั้งพระปลอม อยากได้เงินคืน จะทำอย่างใดได้ ยกเว้นต้องทำใจ และค่อยๆ พูดจาเจรจาเพื่อขอเงินคืน ได้คืนบางส่วนก็ถือว่าโชคดี แต่ถ้ามีกฎหมายรองรับ มีหน่วยงานภาครัฐฯ ช่วยกำกับ ถึงตอนนั้น ปัญหาที่ผู้เช่าที่ถูกเอาเปรียบ ถูกโกง และไม่ได้รับความเป็นธรรม คงจะได้รับการคลี่คลายไปในแนวทางที่ดีขึ้นนะครับผม
เรามักจะทราบกันว่า ราคาซื้อขาย หรือเช่าหาพระเครื่องนั้น ขึ้นอยู่ที่การตกลง และสมัครใจของทั้ง 2 ฝ่าย คือ ทั้งฝ่ายผู้รับเช่า และฝ่ายผู้ที่ต้องการแบ่งให้เช่า เราจึงจะมีราคารับซื้อที่เซียนพระตั้งรับ และเราว่า พอจะรับได้ไหม ซึ่งในความเป็นจริง ผู้ขายอย่างเราแทบไม่มีช่องทางทางการตลาด และไม่ค่อยมีพรรคพวก หรือแหล่งที่ขายที่พอจะขายได้ราคาสูงกว่าการนำไปแบ่งปันให้เซียน เราจึงมักจะต้องจำยอมรับในราคาที่เซียนยินยอมรับซื้อ หรือรับเช่า
“เพราะความจำเป็น ขึ้นชื่อว่า มีความจำเป็นต้องใช้เงิน ดังนั้น เราในฐานะผู้ขาย จึงต้องจำใจขายในทุกระดับราคา เพราะเราร้อนเงิน บางทีมันก็เป็นความทุกข์ใจอันแสนสาหัสที่ต้องแบ่งปันพระเครื่องออกไปแบบขาดทุน อย่างพระบางองค์ราคาขายกันหลัก 1 หมื่นกว่าๆ แต่พอสภาพเหรียญ หรือพระเราไม่สวย หรือหย่อนสวย ราคาเช่าหาเหรียญ หรือพระเราเหลือแค่หลักพันต้นๆ หรือหลักพันกลางๆ เลยน้าจร้า แต่ด้วยความจำเป็นจึงต้องขาย”
เฮ้อ บางทีเราก็ขายพร้อมพระเลี่ยมกรอบเงิน (ก็เลี่ยมมาเกือบพันบาท หรือมากกว่า 1 พันบาทต่อพระ 1 องค์ก็มี เพราะเลี่ยมกันน้ำ และยกซุ้มด้วยน้าจร้า) ซึ่งส่วนใหญ่เรามักจะไม่ได้รับค่ากรอบเงินคืนเลย ได้แต่ราคาขายพระเท่านั้น
จะมีที่ยกเว้นหน่อย ก็เลี่ยมกรอบทอง แต่เราก็เคยเจอเซียนบางคนเช่าพระเรา และบอกว่า ราคากรอบทองนิดเดียวเอง ไม่เป็นไรนะ ไอ้ผมเองก็เป็นคนพูดง่ายๆ เสียด้วย เพราะจำเป็นต้องใช้เงิน แต่เวลาผมไปเลี่ยมกรอบทอง 90 เปอร์เซ็นต์ที่ร้านทองฯ ผมก็ไม่เคยเลี่ยมในราคาถูกๆ หรือได้ฟรีแต่อย่างใดเหมือนกัน บางทีเราก็แกล้งทำตัวเป็นคนโง่ๆ ในสายตาเซียน เพียงเพราะว่าเรามีความจำเป็นต้องใช้เงิน และจำเป็นต้องปล่อยพระ เพราะเราขี่หลังเสือแล้วนะจร้า อิอิ ถ้าจะแวะไปร้านอื่นก็ต้องไปเริ่มต้นใหม่อีก เฮ้อ ไม่หมู และไม่สนุกจริงๆ น้าจร้าในวันที่เราเดือดร้อน และไม่สามารถขนพระของเราไปขายคืนเซียนได้ หรือถูกหักเปอร์เซ็นต์ในจำนวนเยอะๆ น้าจร้า