เฮาเอ้ย ยูช่างบัดซบ โง่ และอวดฉลาดจริงๆ ไม่เคยจำว่า “วิถีเซียนพระ” นั้น เป็นอย่างใด?

* ถ้าจำเป็นต้องขายพระ ขอให้เลือกการขายพระ เป็นทางเลือกสุดท้ายจริงๆ น้าจร้ามิสเตอร์เฮา ยังไม่เข็ดหลาบอีกหรือ!!!!!

* ความจนมันน่ากลัว เจ็บป่วย ไม่มีเงิน ไม่มีโฆษณา ไม่มีค่าใช้จ่าย จึงมักไม่มีทางเลือก สุดท้ายมักแก้ผ้าเอาหน้ารอด แล้วจริงๆ แล้ว เราจะรอดได้จริงไหม คิดซิ!

ร้องไห้หนักมาก ทำไมตัวเอง คือ ผม มิสเตอร์เฮา ถึงโง่บัดซบได้ขนาดนี้ ไม่รู้จักคิด ไม่มีควาเฉลียวฉลาด โง่แต่เรื่องเดิมๆ เจอหลอกแต่เรื่องเดิมๆ กับวงการเซียนพระ (บางท่าน) เคยเจอเหตุการณ์ที่ชอกช้ํามาแล้วมากมาย แต่ยังไม่รู้จักเเข็ดหลาบ ทำตัวเป็นหมูไม่กลัวน้ำร้อนไปได้ สุดท้ายถูกลวก แผลเปิด ตัวแดง หมดหนทางได้รับการเยียวยารักษา เฮ้อ!

“อยากกราบเรียนเตือนตัวเองว่า ขอเป็นเงื่อนไขสุดท้าย ถ้าเป็นไปได้ ในการต้องนำพระเครื่อง หรือวัตถุมงคลของเราออกมาจำหน่ายให้เซียนพระ (บางท่าน) หรือคนรับเช่าพระ เพราะตลอดหลายๆ ปีที่ผ่านมา ยกเว้นขาดทุน จะมีบ้างที่เสมอทุน แต่ส่วนใหญ่จะไปในแนวทางเข้าเนื้อเสียมากกว่า ครั้นจะได้กำลังก็น้อยมาก จึงไม่อยากตั้งความหวัง และหวังว่าจะขายพระได้เป็นทางเลือกแรก (คิดได้แต่ทำไม่ได้สักที เฮ้อ)”

เรานักเล่นพระ ไม่มีกลุ่มลูกค้า ไม่มีเครดิต ไม่มีคนรู้จัก ถ้าจะขายพระเองนับว่าไม่หมู ต้องค่อยๆ สร้างเครดิต ทางที่ดีคือขายให้เซียนพระง่ายกว่า จึงมักถูกกดราคา :

สถานการณ์ และสถานภาพอย่างเรา เราเป็นนักเล่น ไม่มีกลุ่มลูกค้า ไม่มีกลุ่มเพื่อนที่เป็นเซียนพระมากมาย ดังนั้น เวลาขายจึงต้องไปแห่ขายให้เซียนตามสถานที่ต่างๆ (ถ้าเจอเซียนพระให้ราคาดี และจริงใจก็ถือว่าเราโชคดีสุดๆ เลยนะจร้า) และราคาส่วนใหญ่ที่เรามักจะได้รับ คือ ประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ ของราคาตลาด (ในขณะนั้นๆ) ซึ่งเราก็เข้าใจ เพราะเซียนพระแต่ละท่านอาจมีต้นทุนที่แตกต่างกัน และเค้าต้องรับผิดชอบกับการขาย และรับประกันให้กับลูกค้าของเค้าต่อไป

“ในขณะที่เราสามารถใช้เงินได้เลย และก็มีเซียนพระอีกหลายๆ ท่านที่สนใจ และนิยมเชิญชวนให้ลูกค้าส่งพระไปให้ดู (ทางช่องทางต่างๆ) และเลือกตอบเฉพาะพระที่อยากได้เท่านั้น ดังนั้น การขายพระของเราจึงไม่ง่ายอย่างที่คิด และพระเรานั้นต้องเป็นที่ต้องการของเซียนพระในขณะนั้นด้วย มิเช่นนั้น เราก็ขายไม่ได้ และไม่สามารถแปรเปลี่ยนพระเครื่องเป็นเงินสดได้เช่นกัน

“มันไม่ง่ายอย่างที่คิด หรือผมเอง พระบางองค์ของผมต้องนำไปแห่ขายหลายๆ ที่มากๆ ถึงขายได้ แต่ถ้าขายไม่ได้ก็ต้องเก็บเอาไว้เหมือนเดิม (สัดส่วนใกล้เคียงกัน คือ ที่ขายได้ก็ขาย ที่ขายไม่ได้ก็ต้องเก็บเอาไว้เหมือนเดิม) มันจึงไม่เหมือนกับทองคำที่เวลานี้ราคาปรับตัวขึ้นสูงมาก และสามารถเปลี่ยนแปลงเป็นเงินสดได้สบายๆ และมีราคากลางในการซื้อขายแบบสบายใจกว่าจริงๆ”

“พระเครื่องบางองค์เราเคยซื้อแพงมากในช่วงก่อนหน้า และมาขายถูกมากในช่วงนี้ มันเป็นไปได้หมด ขณะที่พระบางองค์เราอาจจะเคย หรือได้รับมาแบบเสน่ห์หา (แบบไม่เสียเงิน) แต่สุดท้ายอาจจะขายได้ และเป็นที่ต้องการของตลาดมากกว่า เหล่านี้ล้วนเกิดขึ้นได้เสมอๆ ในวงการพระเครื่องนะจร้า ทุกอย่างเหมือนกับเป็นการคาดเดาตลาด และการเลือกเก็บพระเครื่องให้ถูกโฉลกกับเราให้ได้มากที่สุดนะจร้า”

มาถึงตอนนี้ เราพอจะสรุปได้แล้วจากประสบการณ์ชีวิตของเราว่า “วิถีเซียนพระ” ตามที่เราได้รับทราบมาจากกูรูหลายๆ ท่าน ขอให้เค้าได้ติ เพื่อจะได้เช่า หรือซื้อหาในราคาที่ถูกลง (การได้รู้จัก และเลือกคบเซียนพระที่ดี จริงใจ เป็นมิตร เป็นกันเอง และรักกัน จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ เลยนะครับผม) ในขณะที่ผู้ขายอย่างเรา ในใจก็จดจ่อแต่อยากจะได้เงินไปชำระหนี้ และใช้จ่าย ได้เท่าใด ก็มักจะนิยม และคิดว่า เอาไว้ก่อน จึงมักต้องเป็นเหยื่อ หรือความรู้ไม่เท่าทันเซียนพระ (บางท่าน) เสมอมา

“เราเข้าใจว่า ของทุกอย่างย่อมต้องมีกำไรขาดทุน แต่ถ้าเป็นราคาที่สมดุล และเป็นราคาที่เป็นกลาง สมเหตุสมผล ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายจริงๆ ก็น่าจะดีกว่านี้ แต่ในชีวิตจริงมันไม่ได้สวยหรูอย่างนี้นะจร้า เจอมาหลายครั้ง ยังไม่เข็ดหลาบ ล่าสุดเพิ่งมาเจอเคสขายอาเหล่าแปะโรงสี ท่านอาจารย์โง้วกิมโคย รุ่นแรก เนื้อเรซิน พระบูชา ขนาด 9 นิ้ว แท้ สวย ลงรักปิดทองเดิม ปี 2521 เข้าไปจุกอกจนแทบตายเลยนะจร้า”

เฮ้อ ร้องไห้หนักสุดๆ เลยนะจร้า เพราะความเจ็บป่วย ป่วยไข้ ไม่มีเงิน ไม่มีค่าโฆษณา ไม่มีค่าใช้จ่าย มีแต่หนี้สิน แล้วจะทำอย่างใดได้ ยกเว้นต้องขายผ้าเอาหน้ารอด เพราะหันไปทางไหน เกือบทุกคนก็มักจะพูดกับเราเสมอว่า อย่าไปเสียดาย มีอะไรขายได้ก็ขายไปก่อน เฮ้อ แต่การขายของรักไปแล้ว ก็ใช่ว่าเราจะหาซื้อกลับมาได้ ที่สำคัญ ให้ซื้อกลับตอนนี้ก็ไม่มีปัญหา เพราะราคาแตกต่างกันเกือบ 3 เท่าตัวเลยทีเดียว

“ไม่โง่ แล้วจะเรียกว่า อะไรติดละ มิสเตอร์เฮา เฮ้อ บัดซดจริงๆ เลยชีวิตเรา!”